เมนู

คาถาที่ 5


15) เอวํ ทุติเยน สหามมสฺส
วาจาภิลาโป อภิสชฺชนา วา
เอตํ ภยํ อายตึ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่สอง หรือการข้อง
อยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใยพึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็ง
เห็นภัยนี้ในอนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

คาถาที่ 5 ง่ายโดยความของบทนั่นเอง.
แต่ในที่นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้อง
ด้วยความรักในสหายนั้นก็ดี กับกุมารผู้เป็นสหายนั้น ผู้บอกความหนาว
และร้อนเป็นต้นพึงมีแก่เรา ผู้สัญญาว่าจะร่วมกัน หากเราไม่สละกุมารผู้
เป็นสหายนี้ แม้ต่อไปการพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องกัน ก็ดี กับ
สหายพึงมีแก่เราเหมือนในบัดนี้ ทั้งสองนั้นจะทำอันตรายแก่การบรรลุ
คุณวิเศษ เพราะเหตุนั้น เมื่อเราเห็นภัยนี้ ต่อไปจึงทิ้งสหายนั้นเสีย
ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ด้วยประการฉะนี้ . บทที่
เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ 5

คาถาที่ 6


16) กามา หิ จิตฺรา มธุรา มโนรมา
วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺตํ
อาทีนวํ กามคุเณสุ ทิสฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีด้วยรูปแปลก ๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณ
ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมืนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 6 ดังต่อไปนี้.
บทว่า กามา กามมี 2 อย่าง คือวัตถุกามและกิเลสกาม. ในกาม
2 อย่างนั้น ธรรมมีรูปเป็นต้นอันน่าพอใจ ชื่อว่า วัตถุกาม. กิเลส
ประเภทราคะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า กิเลสกาม. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาวัตถุกาม.
วัตถุกามทั้งหลายที่ชื่อว่าวิจิตร ก็ด้วยสามารถที่มีเป็นอเนกประการมีรูป
เป็นต้น ชื่อว่า อร่อย ด้วยสามารถทำความชื่นใจให้แก่ชาวโลก ชื่อว่า
มโนรนา เพราะทำใจของปุถุชนผู้โง่เขลาให้รื่นรมย์. บทว่า วิรูปรูเปน
คือ ด้วยรูปแปลก ๆ. ท่านอธิบายว่า ด้วยสภาพหลาย ๆ อย่าง. จริงอยู่
วัตถุกามเหล่านั้นชื่อว่าวิจิตร ก็ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. มีรูปเป็นต้น
ชื่อว่ามีรูปชนิดต่าง ๆ ด้วยรูปที่มีสีเขียวเป็นต้น แม้ในอารมณ์ทั้งหลาย
มีรูปเป็นต้น ย่อมแสดงความชื่นใจโดยประการนั้น ๆ ด้วยอารมณ์ที่
แปลก ๆ นั้นอย่างนั้น ย่อมย่ำยีจิต คือว่า ย่อมไม่ให้จิต (ของบุคคล)
ยินดีในการบรรพชา บทที่เหลือในนิเทศนี้ชัดดีแล้ว แม้บทสรุปก็พึง
ประกอบด้วย 2 - 3 บท แล้วพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในคาถาต้น ๆ.